วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15 11/03/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน  สำหรับในวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตาราง  เวลา 09.00 - 12.00 น. ที่ห้องเดิมที่เรียนตามปกติ วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่จะมาสายเป็นส่วนมากจึงทำให้การสอนในช่วงแรกไม่ค่อยมีความพร้อม จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆในห้องแต่ละกลุ่มจับฉลากว่ากลุ่มไหนจะสอบสอนก่อนเป็นกลุ่มแรก และสอบหลังเป็นตามลำดับ จากนั้นเมื่อพร้อมอาจารย์จึงเริ่มสอบสอนแต่ละกลุ่ม โดยเรียงตามวันจันทร์-ศุกร์ จนครบหมดทุกกลุ่ม ดิฉันสอนหน่วย " ดอกไม้ "   ชั้นอนุบาล 2 อายุ 5 ขวบ  ได้วันพุธบอกส่วนประกอบของดอกไม้  ของดิฉันมีข้อคอมเม้นท์ในการสอบสอน  ดังนี้
ขั้นนำ
    - คำคล้องจองใช้ภาพแทนตัวอักษรดีแล้ว แต่ยังมีบางคำที่สามารถแทนภาพลงไปบนตัวอักษรได้ ก็ให้เพิ่มมา เช่น คำว่า "ผึ้งน้อย"  ให้แทนภาพผึ้ง

ขั้นสอน
    - การสอนให้แยกส่วนประกอบของชบา  ให้ชูให้เด็กเห็นแต่ละอย่าง และใช้คำถาม ถามเด็กให้เด็กตอบ จากนั้นให้วางส่วนประกอบทีละอย่าง  โดยให้เริ่มวางจากซ้ายไปขวา

ขั้นสรุป
     - ตารางส่วนประกอบ ใช้ภาพส่วนประกอบมานับจำนวนดีแล้ว ส่วนคำอธิบายรูปภาพว่าส่วนประกอบแต่ละอย่างอ่านว่าอะไร  ให้เปลี่ยนมาใช้ส่วนประกอบของดอกชบาของจริงมาแทนการใช้ตัวอักษรมาใส่ในตารางจะดีกว่า

และวิธีการสอนที่ถูกต้องของดิฉัน มัดังนี้
ขั้นนำ
    1.  เด็กๆค่ะจากคำคล้องจองบอกส่วนประกอบของดอกไม้อะไรบ้างค่ะ
    2.  จากส่วนประกอบคำคล้องจองแล้ว นอกจากนี้เด็กๆเคยเห็นส่วนประกอบอย่างอื่นอีกไหมค่ะ (ถามเพื่อดึงประสบการณ์)

ขั้นสอน   
    1.  เด็กๆค่ะ เด็กๆคิดว่าวันนี้ครูนำดอกไม้อะไรมาค่าให้เด็กดูค่ะ
           - เด็กๆตอบว่า "ดอกชบา"
           - ชมเชยเด็ก "เก่งมาค่ะ"
    2.  ครูมีส่วนประกอบของดอกชบาให้เด็กดูด้วยค่ะ
         หยิบชิ้นที่1  ชูให้เด็กดูแล้วถามว่า  " เด็กๆรู้จักไหมค่ะนี่คือส่วนประกอบที่เรียกว่าอะไร"
                             ตอบ  " ดอกชบา หรือเรียกว่า กลีบดอก " แล้ววางจากด้านซ้ายก่อน
         หยิบชิ้นที่2  แล้วอันนี้ละค่ะ สีเขียวๆเรียกว่าอะไร
                            ตอบ " เรียกว่า ใบ  วางจากด้านซ้ายถัดจากชิ้นแรก "
         หยิบชิ้นที่3  อันนี้ละค่ะรู้ไหมเอ๋ย มันคืออะไร
                            ตอบ  " มันคือเกสร "
         หยิบชิ้นที่4  สีเขียวๆเป็นหยักๆล่ะค่ะ เด็กรู้จักไหมค่ะ คืดอะไร
                            ตอบ  " อันนี้ คือ กลีบเลี้ยง "
         หยิบชิ้นที่5  อันสุดท้ายแล้วน่ะค่ะ เด็กๆรู้ไหมค่ะ คืออะไร
                            ตอบ " ก้านน่ะค่ะ "
    3.  เมื่อแยกส่วนประกอบ วางจากซ้ายไปขวา เสร็จแล้วน่ะค่ะ แล้วเราจะมาเปรียบเทียบส่วนประกอบของดอกชบากันน่ะค่ะ โดยที่ครูจะมีแผนภาพส่วนประกอบให้เด็กๆดู และเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของดอกชบาที่เป็นของจริงว่าเหมือนกันไหมน่ะค่ะ ถ้าเหมือนกับของจริง ให้เด็กๆนำภาพมาใส่ในตารางส่วนประกอบของดอกชบาที่ครูกำหนดให้น่ะค่ะ
    4.  เอ้าล่ะค่ะ คุณครูขอตัวแทนคนเก่ง 1 คน น่ะค่ะ ออกมาเปรียบเทียบส่วนประกอบให้เพื่อนๆดู

ขั้นสรุป   
    1.  เรามาทบทวนกันอีกครั้งหนึ่งน่ะค่ะ ว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง มี ใบ , ดอกชบา หรือ กลีบดอก, กลีบเลี้ยง , เกสร , ก้าน ค่ะ
    2.  เอ๊ะ! แล้วส่วนประกอบของดอกชบามีเท่าไรน้า เด็กๆอยากรู้ไหมค่ะ ลองมานับกันดูน่ะค่ะ 1 2 3 4 5 ทั้งหมดมี 5 อย่าง เด็กๆจำไว้น่ะค่ะส่วนใหญ่แล้วดอก้จะมีส่วนประกอบ 5 อย่าง ค่ะ

บรรยากาศในห้อง  วันนี้ครื้นเครงเป็นพิเศษเพราะมีการสอบสอนหลายรูปแบบทั้งที่สอนผิด และถูกปนกัน อากาศไม่หนาวมากนัก ความรู้สึกในการสอบสอนวันนี้ รู้สึกตื้นเต้นมากค่ะ พอเห็นเพื่อนออกไปสอบสอนยิ่งใกล้ถึงเราก็ยิ่งตื่นเต้นมากค่ะ  กลัวลืมเรื่องที่จะสอน และประทับใจอาจารย์ที่ให้คำแนะนำในการสอบสอนได้เป็นอย่างดี และถูกต้องตามหลักมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยค่ะ ชอบที่อาจารย์ให้แนะนำกลุ่มของ เจ๊ะซาลาวานิง มากค่ะ เพราะอาจารย์คอมเม้นท์ได้ดีสำหรับดิฉัน ดิฉันคิดว่าเรื่องที่จะสอนของเจ๊ะมันยากแต่พอเห็นอาจารย์คอมเม้นก็เข้าใจ อาจารย์สามารถโยงเข้าสู่คณิตศาสตร์ได้ดีมากค่ะ ในการสอบสอนครั้งนี้ก็เป็นประสบการณ์สำคัญยิ่งสำหรับดิฉัน เพราะตอนดิฉันออกไปฝึกวิชาชีพครู สามารถนำสิ่งที่เรียนมา และนำประสบการณ์จากการสอน รวมทั้งคำแนะนำของอาจารย์ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยต่อไปในอนาคตได้อย่างถูกต้อง  โดยยึดตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาตร์เด็กปฐมวัยที่เรียนมาค่ะ

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 06/03/2555

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคนสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์นัดสอบสอนนอกรอบวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555  เวลา 9.00 น.-12.00 น.  อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนตรงตามมาตรฐานหรือไม่
2. การสอน
    - การบูรณาการ
    - สื่อ
    - เทคนิค
    - การประเมิน
และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเขียนคำคล้องจองของเพื่อนบางคนให้เพื่อนๆคนอื่นดู พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำคล้องจองที่ถูกต้อง  จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กว่า เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กอยากรู้ และสนใจที่ครูสอน  ยกตัวอย่างเช่น  การร้องเพลงเพื่อเก็บเด็กเราอาจจะมีเพลงเดียว แต่มีการบูรณาการเนื้อเพลงให้มีความหลากหลายในการร้อง ใช้วิธีที่หลากหลายในการพูด  ทำให้ดึงดูดความสนใจเด็กและมาสนใจครูผู้สอน  และตื่นเต้น ไม่เบื่อหน่ายกับเพลงเดิมๆ  หากเราทำได้เช่นนี้ก็จะสามารถเก็บเด็กได้  และช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้นำแผนการสอนแบบ Project ของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดู "เรื่อง รถ"  ซึ่งอาจารย์ให้ความรู้ว่าคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว และเป็นมาตรฐานสากลแบบเดียวกันที่มีบวก ลบ คูณ หาร ที่เหมือนกัน  เวลาที่เราสอนเด็กต้องดึงประสบการณ์ เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพื่อเด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สำหรับวันนี้อาจารย์เลิกเรียนเร็วกว่าปกติ สาเหตุเนื่องมาจากเพื่อนในห้องเกิดอุบัติเหตุรถล้ม อาจารย์เป็นห่วงจึงเลิกเรียนเร็วค่ะ

** นัดนอกรอบสอบสอนในวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 -12.00 น. ค่ะ **

บรรยากาศในห้องวันนี้  อากาศในห้องค่อนข้างร้อนนิดนึงค่ะ  และวันนี้ดิฉันก็มาเรียนสายเป็นครั้งแรกค่ะ ความรู้สึกของดิฉันวันนี้ รู้สึกว่าประทับใจที่อาจารย์เป็นห่วงเพื่อนที่เกิดอุบัติเหตุค่ะ

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 28/02/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคนสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ถามถึงแผนการสอน  และอาจารย์พูดทบทวนเนื้อหาเดิม มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่ามีอะไรบ้าง
    1. การวัด>>  การหาค่าปริมาณอาจจะเป็นน้ำหนัก ปริมาร  หรือเวลา
    2. การเปรียบเทียบ>>  การจับคู่ 1 ต่อ 1
    3. จับคู่>> คำว่า คู่ เป็นศัพท์ทางคณิตฯ ที่ตายตัวอยู่แล้ว  เช่น คำว่า ชั่วโมง  เมตร ฯลฯ
    เรขาคณิตศาสตร์>> ไม่ใช่เฉพาะแค่รูปร่าง รูปทรงเท่านั้น  แต่เป็นการบอกตำแหน่งทิศทาง  เช่น ไปข้างหน้า ,ข้างหลัง ,ด้านหน้า ,ตรงกลาง,  ซ้ายไปขวา, มุมบน มุมล่าง
       - เรขาคณิตฯ 1 มิติ   เช่น   รูปภาพในกระดาษ
       - เรขาคณิตฯ 2 มิติ   เช่น   เหรียญบาท
       - เรขาคณิตฯ 3 มิติ   เช่น   กล่อง เพราะมีความหนา  ความกว้าง
หากจะจัดกิจกรรมที่ใช้เรขาคณิตฯ จัดได้ดังนี้ ยกตัวอย่างเช่น
       - เรขาคณิตฯในการจัดกิจกรรม 1 มิติ  ให้เด็กวาดรูปลงในกระดาษตามจินตนาการ
       - เรขาคณิตฯในการจัดกิจกรรม 3 มิติ  ให้เด็กปั้นดินน้ำมัน โดยมีที่รองสำหรับปั้นดินน้ำมัน
    4. การจำแนก  การจัดหมวดหมู่>>  ต้องให้เด็กสร้างสรรค์งานให้มี 3 มิติ เช่น  งานประดิษฐ์ ต้องเป็นโครงสร้าง 3 ส่วน
    5. พิชคณิตฯ>> รูปแบบและความสัมพันธ์  (ความสัมพันธ์ คือ จุดตัด เช่น ความสัมพัธ์ 2 แกน) อาจารย์ให้เข้าใจในหา พีชคณิตฯ ง่ายขึ้น โดยอาจารย์ให้เพื่อนๆออกมายืน 3 คน ออกมาเป็นแบบ  และให้เพื่อนอีก 3 คน มาทำตามแบบ  อาจารย์โยงเข้าคณิตฯ โดยถามว่าการทำแบบนี้เกี่ยวกับคณิตฯอย่างไร   เกี่ยวในเรื่องของ  1.) ตำแหน่ง  2.)ทิศทาง  3.)จำนวน  4.)ทำตามตัวแบบ  และสอดคล้องกับเด็กคือ
       - ความสัมพันธ์ของเด็ก >> ภาพ เป็นประสบการณ์ไปสู่พิชคณิตฯ
       - การจัดประสบการณ์>> ต้องจัดให้หลากหลายรูปแบบ เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้ที่หลากหลายรูปแบบ  เกิดความคิดที่แปลกใหม่
       - การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ>>  การใช้คำถามที่ประกอบการตัดสินใจ  เช่น มีเค้กอยู่ 1 ชิ้น มีเพื่อน3 คน เด็กๆจะแบ่งให้เพื่อน คนละเท่าๆกันเด็กๆจะมีวิธีทำอย่างไรค่ะ  และอาจารย์ให้นักศึกษาสมมุติว่าเป็นเด็ก และให้หาวิธีตัดเค้กหลายๆรูปแบบ  สรุปผลว่ามีวิธีตัดเค้ก 3 รูปแบบ คือ
         1.) ตัดเป็น 3 ส่วน เป็นแก้วรูปตัว Y
         2.) ตัดเป็น 4 ส่วน และส่วนที่ 4 ให้นำมาแบ่งเป็น 3 ส่วนอีกครั้ง
         3.) ตัดเป็น 4 ส่วน แล้วตัดด้านข้างผ่ากลาง เป็น 2 ส่วน จะได้เค้กเป็น 12 ชิ้น
การทีใช้คำถาม  ถามเด็กว่าเหตุผลใดที่ตัดแบบนั้น การใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกให้เด็กคิดก่อนตอบคำถาม ให้เด็กคิดเป็น และทำให้เด็กบอกเหตุผลประกอบกันกับการตัดสินใจได้  ซึ่งจะทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการใช้เหตุผลประกอบกับการคิดมากขึ้นด้วย
จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการประกอบการตัดสินใจของเด็ก คือ วิธีที่ 2 เพราะมีโอกาสใกล้เคียงมากที่สุด ที่จะเกิดการแบ่งที่เท่ากัน  ส่วนวิธีที่ 1 เด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะรูปตัว Y ในความคิดเด็กแต่ละคน จะไม่เท่ากันอยู่แล้ว  และวิธีที่ 3 การแบ่งอาจจะทำให้หน้าเค้กหายไป เด็กอาจจะเกอดความไม่พอใจที่เห็นหน้าเค้กไม่เท่ากัน หรือหายไปบ้าง
        - การใช้ภาษา  สัญลักษณ์  สื่อความหมาย >> มากกว่า หรือน้อยกว่า  และการใช้สัญลักษณ์ เช่น 5 มากกว่า 2,  3 มากกว่า 6    จะเขียน สัญลักษณ์ได้อย่างไร  หรือจะเป็นการไม่เท่ากัน  เท่ากัน เป็นสัญลักษณ์บอกความหมายของมากกว่า น้อยกว่า นั้นเอง

  ** อาจารย์นัดนอกรอบ วันศุกร์ 2 มีนาคม 2555  เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เพื่อสอดแทรกหลักมาตรฐานลงไปในแผนการสอน โดยให้แต่ละคนนำหนังสือมาตรฐาน และผนการสอนของตัวเองมาด้วย  เหตุผลที่นัดนอกรอบ เพราะ เพื่อนๆไม่มีความพร้อม  บางคนไม่นำแผนที่ถ่ายเอกสารมา **

บรรยากาศในห้องวันนี้ อากาศในห้องร้อนค่ะ ไม่เย็นเหมือนทุกๆครั้ง  และมีคนมาซ่อมโปรเจ็กเตอร์ด้วย เสียงอาจจะรบกวนนิดหน่อย  ความรู้สึกของดิฉันวันนี้ รู้สึกว่าเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนค่ะ  และรู้สึกว่าอากาศแม้จะร้อน เสียงอาจจะรบกวนบ้าง แต่อาจารย์ก็ไม่ละความพยายามในการสอนครั้งนี้ค่ะ
  

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 21/02/2555

          สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามแผนการสอน  และมีกลุ่มเพื่อนๆในห้องที่ยังไม่เข้าใจในแผนการสอนมาปรึกษาอาจารย์ เพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง พร้อมทั้งอาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนด้วย อาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อนใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร  ระหว่างที่เพื่อนๆกลุ่มอื่นนั่งคอยอยู่นั้นอาจารย์จึงให้ภายในกลุ่มของตนเองช่วยคิดว่าต้องการสื่อ/อุปกรณ์ อะไรบ้างที่ต้องใช้เกี่ยวกับแผนของแต่ละกลุ่ม แล้วให้เขียนส่งอาจารย์ เพื่อที่อาจารย์จะซื้อมาให้ หรือสำหรับคนที่ซื้อมาแล้วอาจารย์จะเบิกเงินค่าอุปกรณ์มาให้ภายหลัง  และอาจารย์ยังบอกอีกว่าอุปกรณ์บางอย่างที่สามารถนำมาจากบ้านเองได้ก็ให้นำมา  ช่วงท้ายคาบอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มรวบรวมแผนมาส่ง ก่อนส่งอาจารย์ก็ให้ถ่ายเอกสารเก็บไว้ที่ตัวเองด้วยคนละ 1 ชุด
 
บรรยากาศในห้องวันนี้  บรรยากาศหนาวมากค่ะ      ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันในวันนี้รู้สึกว่าเข้าใจที่อาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนค่ะ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 14/02/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้พูดคุย และอบรม เกี่ยวกับเรื่องการร่วมงานกีฬาสีของเอกว่า มีผู้นำในการทำกิจกรรมแล้ว เราก็ต้องเป็นผู้ตามที่ดี ต้องมาเข้าร่วมกิจกรรม อาจารย์จึงตัวอย่างว่า ต่อไปเราต้องเป็นคนจัดกิจกรรม เราซึ่งเป็นผู้นำ ถ้าไม่มีใครไปร่วมกิจกรรมแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร  และอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนลิงก์ URL ให้เสร็จ อาจารย์ตรวจแผนการสอนของเพื่อนที่มาส่งเพิ่มเติมจากครั้งที่แล้ว  บางกลุ่มมีข้อบกพร่องคือ สนใจเฉพาะแผนของตัวเอง ไม่สนใจเพื่อนภายในกลุ่มของตัวเอง อาจารย์จึงย้อนกลับมาพูดถึงเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีหลักๆด้วยกัน 3 หัวข้อ (1.)  จัดประสบการณ์  (2.) คณิตศาสตร์  (3.)เด็กปฐมวัย ซึ่งต้องแตกย่อยแต่ละหัวข้อ จึงสรุปรวมอีกครั้งหนึ่ง อธิบายที่เขียนแผนเก่า
        1. แผนเก่า 1 แผนที่ทำมาแล้ว
        2. แผนใหม่ที่ปรับปรุงและเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามความเข้าใจ 1 แผน
        3. ต้องแตกหน่วยที่ปรับปรุง และแผนเดิมด้วย (ถ้ากลุ่มไหนนำแผนไปปรับปรุง)
จากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามแผนจัดประสบการณ์ และให้ไปถ่ายเอกสารแผนการสอนของตัวเองด้วย   อาจารย์ให้คำแนะนำ และแก้ไขการเขียนแผนเพิ่มเติมว่า เนื้อหาต้องสอดคล้องกับการเรียนรู้ สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก และต้องดูว่าเนื้อหาที่ทำครบพัฒนาการทั้ง 4 ด้านหรือไม่ เพราะจุดประสงค์กำหนดให้เด็กได้พัฒนาครบทั้ง 4 ด้าน  และอาจารย์ถามนักศึกษาว่าการเขียนแผนประสบการณ์ หัวใจสำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกคืออะไร เพื่อนๆ และดิฉันก็ได้แสดงความคิดเห็นด้วย คือ สติปัญญา ซึ่งจะนำไปสู่เรื่องของภาษา,วิทย์,และคณิตศาสตร์ วัตถุประสงค์ก็ต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาด้วย ถ้าพูดถึงคำว่าประสบการณ์ คือ เด็กได้ลงมือกระทำ ประสบการณ์เรื่องของสติปัญญา คือ (1.) การอธิบาย  (2.) การเรียงลำดับ  และเนื้อหาที่สอนต้องเน้นเรื่องสติปัญญาเป็นอันดับแรก และอาจารย์ถามว่าการสอนแบบนี้คือ การสอนแบบใด คือการสอนแบบบูรณาการ มีดังนี้
ขั้นนำ >>  เพลง,คำคล้องจอง,นิทาน
ขั้นสอน >>  เนื้อหาในเพลง,กิจกรรมในเพลง
ขั้นสอนสาเหตุที่ต้องสนทนาถามในขั้นนำว่ามีอะไรบ้าง เพราะขั้นนำกับขั้นสอนจะได้มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กัน มันจะทำให้ไม่ขาดตอนกัน และขั้นนำที่ใช้เพลงให้เด็กร้องเพลง ครูจะต้องอ่านให้เด็กฟังตามที่ละวรรค เพราะ (1.) เด็กจะจำ (2.) เด็กได้เรียนรู้เรื่องของภาษาจากครู  หากเราร้องเพลงเลยโดยที่ไม่ได้อ่านให้เด็กฟังก่อนมีผลเสียคือ จะทำให้เด็กไม่รู้คำที่แท้จริงของคำนั้น   **ประโยคที่ใช้พูดกับเด็กต้องมีความกระชับ และเข้าใจง่าย**  เช่น เด็กๆรู้ไหมค่ะ เด็กๆคิดว่าฝนเกิดขึ้นได้อย่างไร  และคำว่า อย่างไร ก็จะผ่านข้อความรู้มากขึ้นกว่านี้ เมื่อเราใช้คำถามปลายเปิดจะนำไปสู่ขั้นตอนคิดวิเคราะห์  ช่วงท้ายคาบอาจารย์บอกว่าให้นัดกับอาจารย์นอกคาบเพื่อจะมาอธิบายการเขียนแผนแต่ละกลุ่มให้เรียบร้อย

บรรยากาศในห้องวันนี้  บรรยากาศดี ไม่หนาวมากนัก ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันในวันนี้รู้สึกว่าจากที่อาจารย์สอน และแนะนำการเขียนแผนดิฉันมีความเข้าใจในการเขียนแผนการสอนเพิ่มขึ้น และอาจารย์สอนดี อธิบายการเขียนแผนอย่างละเอียดทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 07/02/2555

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดเรื่องงานกีฬาสีของเอก และให้ส่งแผนแต่เพื่อนๆไม่ได้เอาแผนเก่ามา เพื่อนำมาคู่กับแผนใหม่ ดิฉันจึงส่งแผนให้อาจารย์ อาจารย์จึงมีคำแนะนำในการเขียนแผนเพิ่มเติม และแก้ไขว่า
ในแผนการสอน
         - ส่วนประกอบเอาเฉพาะ 5 อย่าง คือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสร ก้าน ใบ
         - ตรงประสบการณ์สำคัญ ให้เด็กนับ บอกจำนวนเลข ฯลฯ
         - คำคล้องจอง ให้บอกเนื้อหาของคำคล้องจองด้วยเพราะอาจารย์จะดูว่าเหมาะสมกับเรื่องหรือไม่ และการอ่านคำคล้องจองนั้นเด็กได้ใช้ทักษะทางภาษา เช่น ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นต้น
         - ไม่ต้องจำแนกสีของดอกไม้ (เพราะเนื้อหาที่สอนตอนแรกจะไม่เชื่อมโยงกัน)

ขั้นสอน
         - ขั้นสอน ให้เด็กออกมาติดภาพแล้วนับส่วนประกอบของดอกไม้ว่ามีจำนวนเท่าไร  (เกี่ยวกับการนับจำนวน) หลังจากที่เด็กนับส่วนประกอบเสร็จแล้ว อาจจะทำตัวเลขให้เด็กเขียน เช่น เลขฮินดูอารบิก หรือ เลขไทยก็ได้ เพื่อให้เด็กรู้จักตัวเลข
         -  การทบทวนทำได้ 2 วิธี 1.ทบทวนท่องคำคล้องจอง หรือพร้อมให้เด็กหยิบภาพ 2. ทบทวนคำคล้องจองแล้วถาม จากนั้นให้หยิบภาพมาติดก็ได้
         -  การเปรียบเทียบจำนวน ถามเด็กๆว่าในทุกๆดอกมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือไม่ เราต้องพิสูจน์กัน ให้ครูหยิบดอกไม้ในตระกร้า แล้วชูดอกไม้ขึ้นพร้อมบอชื่อดอกไม้ แล้วถามเด็กๆว่าเหมือนกันหรือไม่ (ดอกไม้อาจจะมี 3 ดอกก็ได้)

ขั้นสรุป
        - ดอกไม้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบ 5 อย่าง ดังนี้ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสร ก้าน ใบ

        จากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ
คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้
        การหาปริมาตร   เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
        เวลา   เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น  เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา
        การวัด  ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว  เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ (1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้
       1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง
       2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
       3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้
       4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
       5. ความจำ
       6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง  มี 2 แบบ
             6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน
             6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหา

คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไร

คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา  เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้

งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้  อาจารย์ให้ไปดูในบล็อกศิลปะสิ่งที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

บรรยากาศในห้องวันนี้  บรรยากาศดี ไม่ง่วงนอน ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันในวันนี้รู้สึกว่ามีความเข้าใจในเรื่องที่อาจารย์สอน สามารถเชื่อมโยงคณิตศาสตร์เข้ากับวิชาอื่นได้เป็นอย่างดี  และอาจารย์สามารถให้คำแนะนำ การแก้ไขในการเขียนแผนได้อย่างชัดเจน ทำให้ดิฉันเข้าใจสิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำ ซึ่งสามารถนำข้อความรู้ หรือเทคนิคต่างๆที่อาจารย์แนะนำไปใช้ในการสอน และเป็นประสบการณ์ในการเขียนแผนต่อไปได้ค่ะ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9 31/01/2555

            สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน  สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่พิมพ์ชื่อตัวเอง และเพื่อนส่วนใหญ่ยังทำไม่เสร็จ อาจารย์จึงบอกว่าให้ส่งวันหลังแทน อาจารย์ทบทวนงานไปสู่กิจกรรมการสอน แต่ผลปรากฏว่า เพื่อนบางคนทำมา บางคนก็ไม่ทำมา  จากนั้นเข้าสู่กิจกรรม  ถามเรื่องแผน และบอกว่าหน่วยต่างๆนั้นมาจากสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้มาจากหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาของการวางแผน สาเหตุที่เราจัดประสบการณ์ คือ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     อาจารย์จึงยกเหตุการณ์ขึ้นมาให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ถามว่า ใครเข้าห้องมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถามเพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้    และอาจารย์พูดถึงการเขียน  Mind Mapping  การเขียนนั้นต้องใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อเด็กได้คิดต่อได้ และทำให้เด็กกล้าแสดงออกด้วย  เช่น  เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง, ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร    อาจารย์ถามต่อว่า  หน่วยที่ครูเตรียมไว้ทำไม่จึงต้องเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว   
          หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
>> การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  ประสบการณ์สำคัญหลักๆมี 4 ด้าน คือ ร่างกาย,อารมณ์ ,สังคม, สติปัญญา   ความคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดแบนี้มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์มาก เพราะเป็นการคิดแบบคิดเชิงเหตุผล
>> ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
>> สาระ คือ  เป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรณาการ การบูรณาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
>> มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
>> การเรียนรู้  คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้
>> มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านการเรียน
>> มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านการเรียนคณิตศาสตร์
สสวท กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์  6  สาระ มีเกณฑ์มาตรฐานดังนี้
1)  จำนวนและการดำเนินการ
2)  เรขาคณิต
3)  พิชคณิต
4)  การวัด
5)  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6)  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
     -อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
     -อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
     - อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้

เรื่อง การเปรียบเทียบ
     -อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
     -อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
     -อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า

เรื่อง การเรียงลำดับ
     -อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
     -อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
     -อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง

เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
     - อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
     - อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
     - อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น

** ลักษณะสำคัญของสาระต้องมีความยืดหยุ่น ปฏิเสธไม่ได้ เพราะเด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล **

บรรยากาศในห้องวันนี้  อากาศไม่หนาวมากนัก  ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันวันนี้รู้สึกว่าเข้าใจที่อาจารย์สอน และได้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก และรู้หลักในการเขียนแผนประสบการณ์ที่ยึดตามหลักมาตรฐานของ สสวท ที่ดิฉันสามารถนำไปเขียนแผนในอนาคตได้อย่างถูกต้อง และการสอนของอาจารย์ในวันนี้ อาจารย์สอนได้ดีมากค่ะ เพราะมีการยกตัวอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน เอกสารที่นำมาสอนดีมากค่ะตรงกับเนื้อหากิจกรรมการรสอนของวันนี้

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8 24/01/2555

         สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สนทนาพูดคุยการไปสังเกตการณ์กับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ถามว่าเป็นอย่างไรบ้า่ง ใครอยากเปลี่ยนโรงเรียนไหม และอาจารย์พูดถึงพัฒนาการของไวก็อตกี้ จึงถามนักศึกษาว่าปัญหาในโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยมีอะไรบ้าง และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดในโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คือ การที่เด็กกินนมช้า และการไม่กินผัก ให้เด็กๆกินขนมที่มีส่วนผสมของผงชูรส  อารย์ให้คำแนะนำว่าสามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นในกับเด็กทำเป็นงานวิจัยได้ หรืออาจจะนำเสนอโครงการระยะยาวให้กับทางโรงเรียนเพื่อรณรงค์ปัญหาที่เกิดขึ้น  อาจารย์ถามนักศึกษาว่าสาเหตุของเด็กไม่กินผักมาจากอะไร และจะแก้ปัญหาให้เด็กหันมากินผักได้อย่างไรบ้าง เพื่อนๆในห้องก็ได้แสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์ประกอบด้วย คือ
    1.ปัญหาที่พบ  เด็กอาจจะเคยกินผักขม ผักมีกลิ่นฉุน เป็นต้น
    2.เปลี่ยนทัศนคติของเด็ก
        - การเล่านิทาน
        - ฟังเพลง
** แต่การเล่านิทานมีความแตกต่างกับเพลงคือ นิทานเราสามารถเล่า และผูกเนื้อหากันได้ แต่เพลงไม่สามารถทำได้ เพระเพลงเป็นเนื้อหาสำเร็จรูป **
   3.ทำกิจกรรม ดังนี้
        - สร้างนิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ (ครูและเด็กช่วยกัน)
        - ช่วยกันปลูกผัก
        - นำผักที่ปลูกมาชุบแป้งทอด
   4.ย้ำเตือนเด็กให้รู้ว่าผักมีประโยชน์
        - แสดงละครที่เกี่ยวกับนิทานที่สร้างขึ้น
และอาจารย์ได้สนทนาพูดคุยกับนักศึกษาแต่ละโรงเรียนว่าสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างไร หรือมีการสอนอะไรบ้าง

งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้
   1.ให้นักศึกษาพิมพ์ชื่อตัวเอง และพิมพ์ชื่อเล่นของตัวเอง โดยมีข้อกำหนดว่า ตัวอักษรใช้ฟร้อน Angsananew ขนาด 36 ทำตัวหนาทุกข้อความ และให้ดูว่าชื่อของแต่ละคนเลขที่เท่าไร และเทียบดูว่าเลขที่ของเราตรงกับวันอะไรในสัปดาห์ แล้วให้เขียนวัน และทำสีที่ตรงกับวันนั้น พร้อมทั้งเขียนเลขที่ของตัวเองด้วย (โดยต้องสร้างกรอบข้อความทุกอัน)
      ตัวอย่างคร่าวๆของดิฉัน
อรอุมา  (ทราย)  > Angsananew ขนาดตัวอักษร 36 ทำตัวหนา
วันอังคาร  >  Angsananew ขนาดตัวอักษร 24ทำตัวหนา ยาว1นิ้ว กว้าง1นิ้ว
24(เลขที่)  > Angsananew ขนาดตัวอักษร 48 ทำตัวหนา  นิ้วครึ่ง คูณ นิ้วครึ่ง
กรอบสีชมพู   > 2 คูณ 4นิ้ว
    2.ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนเกี่ยวกับเสริมประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำหน่วย "ดอกไม้" เตรียมสื่อมาด้วย พร้อมทั้งสอนสอดแทรกเรื่องคณิตฯ มีข้อยกเว้นในการเขียนขั้นนำคือ ไม่ใช้การสนทนา แต่ให้ใช้คำคล้องจอง  นิทาน  เพลง  เกม  ปริศนาคำทายแทน ถ้าขั้นนำเป็นเพลงเนื้อหาต้องสอดคล้องกัน และสื่อหรือของที่นำมาในการสอน เช่น ผัก ดอกไม้ เป็นต้น ต้องมีภาชนะใส่ หรือมีฝาปิดให้เรีบยร้อย และอาจารย์บอกว่าถ้าใครมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการเขียนแผนสามารถมาปรึกษาอาจารย์ได้ค่ะ
    3.ให้นักศึกษาทุกคนสมัครสมาชิกโทรทัศน์ครู และให้เข้าไปที่โทรทัศน์ครูให้ลิงค์โทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เข้าบล็อกด้วย พร้อมทั้งสรุปเนื้อหา

บรรยากาศในห้องวันนี้ บรรยากาศดี ไม่ง่วงนอน ครื้นเครง ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันในวันนี้รู้สึกว่าอาจารย์สอนได้ดีและให้คำแนะนำในการทำงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนได้เป็นอย่างดี และมีความเข้าใจในเรื่องที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7 17/01/2555

           สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ  และเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ทางมหาวิทยาลัยมีกำหนดการของนักศึกษาชั้นปีที่3 ให้ไปออกปฎิบัติการณ์วิชาชีพครู1 ที่โรงเรียนที่แต่ละคนได้เลือกไว้ โดยมีกำหนดตั้งแต่วันที่ 5-19 มกราคม พ.ศ. 2555 ดิฉันได้ไปสังเกตการณ์ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) วันนี้จึงไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6 10/01/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ  และเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ทางมหาวิทยาลัยมีกำหนดการของนักศึกษาชั้นปีที่3 ให้ไปออกปฎิบัติการณ์วิชาชีพครู1 ที่โรงเรียนที่แต่ละคนได้เลือกไว้ โดยมีกำหนดตั้งแต่วันที่ 5-19 มกราคม พ.ศ. 2555 ดิฉันได้ไปสังเกตการณ์ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) วันนี้จึงไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

ภาพร่วมทำฉากนิทานให้น้องเบล อนุบาล 2/3 เพื่อไปแข่งขันเล่านิทานที่ จังหวัดกาญจนบุรี และภาพกิจกรรมกีฬาอาเซียนของเด็กอนุบาลทุกระดับชั้น
 
 
                                     ช่วยทำดอกไม้
 










ฉากนิทานทำเสร็จแล้วค่ะ
 
 
นั่งรอแข่งกีฬา








เต้นออกกำลังกาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5 03/01/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ปิดชดเชย เนื่องจากเป็นเทศกาลปีใหม่ของไทย จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ