วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9 31/01/2555

            สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน  สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้ส่งงานที่พิมพ์ชื่อตัวเอง และเพื่อนส่วนใหญ่ยังทำไม่เสร็จ อาจารย์จึงบอกว่าให้ส่งวันหลังแทน อาจารย์ทบทวนงานไปสู่กิจกรรมการสอน แต่ผลปรากฏว่า เพื่อนบางคนทำมา บางคนก็ไม่ทำมา  จากนั้นเข้าสู่กิจกรรม  ถามเรื่องแผน และบอกว่าหน่วยต่างๆนั้นมาจากสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้มาจากหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาของการวางแผน สาเหตุที่เราจัดประสบการณ์ คือ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้     อาจารย์จึงยกเหตุการณ์ขึ้นมาให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ถามว่า ใครเข้าห้องมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถามเพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้    และอาจารย์พูดถึงการเขียน  Mind Mapping  การเขียนนั้นต้องใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อเด็กได้คิดต่อได้ และทำให้เด็กกล้าแสดงออกด้วย  เช่น  เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง, ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร    อาจารย์ถามต่อว่า  หน่วยที่ครูเตรียมไว้ทำไม่จึงต้องเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว   
          หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
>> การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  ประสบการณ์สำคัญหลักๆมี 4 ด้าน คือ ร่างกาย,อารมณ์ ,สังคม, สติปัญญา   ความคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดแบนี้มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์มาก เพราะเป็นการคิดแบบคิดเชิงเหตุผล
>> ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
>> สาระ คือ  เป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรณาการ การบูรณาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
>> มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
>> การเรียนรู้  คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับรู้
>> มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านการเรียน
>> มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านการเรียนคณิตศาสตร์
สสวท กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์  6  สาระ มีเกณฑ์มาตรฐานดังนี้
1)  จำนวนและการดำเนินการ
2)  เรขาคณิต
3)  พิชคณิต
4)  การวัด
5)  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6)  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
     -อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
     -อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
     - อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้

เรื่อง การเปรียบเทียบ
     -อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
     -อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
     -อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า

เรื่อง การเรียงลำดับ
     -อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
     -อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
     -อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง

เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
     - อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
     - อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
     - อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น

** ลักษณะสำคัญของสาระต้องมีความยืดหยุ่น ปฏิเสธไม่ได้ เพราะเด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล **

บรรยากาศในห้องวันนี้  อากาศไม่หนาวมากนัก  ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันวันนี้รู้สึกว่าเข้าใจที่อาจารย์สอน และได้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก และรู้หลักในการเขียนแผนประสบการณ์ที่ยึดตามหลักมาตรฐานของ สสวท ที่ดิฉันสามารถนำไปเขียนแผนในอนาคตได้อย่างถูกต้อง และการสอนของอาจารย์ในวันนี้ อาจารย์สอนได้ดีมากค่ะ เพราะมีการยกตัวอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน เอกสารที่นำมาสอนดีมากค่ะตรงกับเนื้อหากิจกรรมการรสอนของวันนี้

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8 24/01/2555

         สวัสดีอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์สนทนาพูดคุยการไปสังเกตการณ์กับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ถามว่าเป็นอย่างไรบ้า่ง ใครอยากเปลี่ยนโรงเรียนไหม และอาจารย์พูดถึงพัฒนาการของไวก็อตกี้ จึงถามนักศึกษาว่าปัญหาในโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัยมีอะไรบ้าง และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างปัญหาที่เกิดในโรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย คือ การที่เด็กกินนมช้า และการไม่กินผัก ให้เด็กๆกินขนมที่มีส่วนผสมของผงชูรส  อารย์ให้คำแนะนำว่าสามารถนำปัญหาที่เกิดขึ้นในกับเด็กทำเป็นงานวิจัยได้ หรืออาจจะนำเสนอโครงการระยะยาวให้กับทางโรงเรียนเพื่อรณรงค์ปัญหาที่เกิดขึ้น  อาจารย์ถามนักศึกษาว่าสาเหตุของเด็กไม่กินผักมาจากอะไร และจะแก้ปัญหาให้เด็กหันมากินผักได้อย่างไรบ้าง เพื่อนๆในห้องก็ได้แสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากอาจารย์ประกอบด้วย คือ
    1.ปัญหาที่พบ  เด็กอาจจะเคยกินผักขม ผักมีกลิ่นฉุน เป็นต้น
    2.เปลี่ยนทัศนคติของเด็ก
        - การเล่านิทาน
        - ฟังเพลง
** แต่การเล่านิทานมีความแตกต่างกับเพลงคือ นิทานเราสามารถเล่า และผูกเนื้อหากันได้ แต่เพลงไม่สามารถทำได้ เพระเพลงเป็นเนื้อหาสำเร็จรูป **
   3.ทำกิจกรรม ดังนี้
        - สร้างนิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ (ครูและเด็กช่วยกัน)
        - ช่วยกันปลูกผัก
        - นำผักที่ปลูกมาชุบแป้งทอด
   4.ย้ำเตือนเด็กให้รู้ว่าผักมีประโยชน์
        - แสดงละครที่เกี่ยวกับนิทานที่สร้างขึ้น
และอาจารย์ได้สนทนาพูดคุยกับนักศึกษาแต่ละโรงเรียนว่าสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างไร หรือมีการสอนอะไรบ้าง

งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้
   1.ให้นักศึกษาพิมพ์ชื่อตัวเอง และพิมพ์ชื่อเล่นของตัวเอง โดยมีข้อกำหนดว่า ตัวอักษรใช้ฟร้อน Angsananew ขนาด 36 ทำตัวหนาทุกข้อความ และให้ดูว่าชื่อของแต่ละคนเลขที่เท่าไร และเทียบดูว่าเลขที่ของเราตรงกับวันอะไรในสัปดาห์ แล้วให้เขียนวัน และทำสีที่ตรงกับวันนั้น พร้อมทั้งเขียนเลขที่ของตัวเองด้วย (โดยต้องสร้างกรอบข้อความทุกอัน)
      ตัวอย่างคร่าวๆของดิฉัน
อรอุมา  (ทราย)  > Angsananew ขนาดตัวอักษร 36 ทำตัวหนา
วันอังคาร  >  Angsananew ขนาดตัวอักษร 24ทำตัวหนา ยาว1นิ้ว กว้าง1นิ้ว
24(เลขที่)  > Angsananew ขนาดตัวอักษร 48 ทำตัวหนา  นิ้วครึ่ง คูณ นิ้วครึ่ง
กรอบสีชมพู   > 2 คูณ 4นิ้ว
    2.ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนเกี่ยวกับเสริมประสบการณ์ ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำหน่วย "ดอกไม้" เตรียมสื่อมาด้วย พร้อมทั้งสอนสอดแทรกเรื่องคณิตฯ มีข้อยกเว้นในการเขียนขั้นนำคือ ไม่ใช้การสนทนา แต่ให้ใช้คำคล้องจอง  นิทาน  เพลง  เกม  ปริศนาคำทายแทน ถ้าขั้นนำเป็นเพลงเนื้อหาต้องสอดคล้องกัน และสื่อหรือของที่นำมาในการสอน เช่น ผัก ดอกไม้ เป็นต้น ต้องมีภาชนะใส่ หรือมีฝาปิดให้เรีบยร้อย และอาจารย์บอกว่าถ้าใครมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการเขียนแผนสามารถมาปรึกษาอาจารย์ได้ค่ะ
    3.ให้นักศึกษาทุกคนสมัครสมาชิกโทรทัศน์ครู และให้เข้าไปที่โทรทัศน์ครูให้ลิงค์โทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เข้าบล็อกด้วย พร้อมทั้งสรุปเนื้อหา

บรรยากาศในห้องวันนี้ บรรยากาศดี ไม่ง่วงนอน ครื้นเครง ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันในวันนี้รู้สึกว่าอาจารย์สอนได้ดีและให้คำแนะนำในการทำงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนได้เป็นอย่างดี และมีความเข้าใจในเรื่องที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7 17/01/2555

           สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ  และเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ทางมหาวิทยาลัยมีกำหนดการของนักศึกษาชั้นปีที่3 ให้ไปออกปฎิบัติการณ์วิชาชีพครู1 ที่โรงเรียนที่แต่ละคนได้เลือกไว้ โดยมีกำหนดตั้งแต่วันที่ 5-19 มกราคม พ.ศ. 2555 ดิฉันได้ไปสังเกตการณ์ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) วันนี้จึงไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6 10/01/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ  และเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ทางมหาวิทยาลัยมีกำหนดการของนักศึกษาชั้นปีที่3 ให้ไปออกปฎิบัติการณ์วิชาชีพครู1 ที่โรงเรียนที่แต่ละคนได้เลือกไว้ โดยมีกำหนดตั้งแต่วันที่ 5-19 มกราคม พ.ศ. 2555 ดิฉันได้ไปสังเกตการณ์ที่โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) วันนี้จึงไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

ภาพร่วมทำฉากนิทานให้น้องเบล อนุบาล 2/3 เพื่อไปแข่งขันเล่านิทานที่ จังหวัดกาญจนบุรี และภาพกิจกรรมกีฬาอาเซียนของเด็กอนุบาลทุกระดับชั้น
 
 
                                     ช่วยทำดอกไม้
 










ฉากนิทานทำเสร็จแล้วค่ะ
 
 
นั่งรอแข่งกีฬา








เต้นออกกำลังกาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5 03/01/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ปิดชดเชย เนื่องจากเป็นเทศกาลปีใหม่ของไทย จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ