วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 07/02/2555

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดเรื่องงานกีฬาสีของเอก และให้ส่งแผนแต่เพื่อนๆไม่ได้เอาแผนเก่ามา เพื่อนำมาคู่กับแผนใหม่ ดิฉันจึงส่งแผนให้อาจารย์ อาจารย์จึงมีคำแนะนำในการเขียนแผนเพิ่มเติม และแก้ไขว่า
ในแผนการสอน
         - ส่วนประกอบเอาเฉพาะ 5 อย่าง คือ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสร ก้าน ใบ
         - ตรงประสบการณ์สำคัญ ให้เด็กนับ บอกจำนวนเลข ฯลฯ
         - คำคล้องจอง ให้บอกเนื้อหาของคำคล้องจองด้วยเพราะอาจารย์จะดูว่าเหมาะสมกับเรื่องหรือไม่ และการอ่านคำคล้องจองนั้นเด็กได้ใช้ทักษะทางภาษา เช่น ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นต้น
         - ไม่ต้องจำแนกสีของดอกไม้ (เพราะเนื้อหาที่สอนตอนแรกจะไม่เชื่อมโยงกัน)

ขั้นสอน
         - ขั้นสอน ให้เด็กออกมาติดภาพแล้วนับส่วนประกอบของดอกไม้ว่ามีจำนวนเท่าไร  (เกี่ยวกับการนับจำนวน) หลังจากที่เด็กนับส่วนประกอบเสร็จแล้ว อาจจะทำตัวเลขให้เด็กเขียน เช่น เลขฮินดูอารบิก หรือ เลขไทยก็ได้ เพื่อให้เด็กรู้จักตัวเลข
         -  การทบทวนทำได้ 2 วิธี 1.ทบทวนท่องคำคล้องจอง หรือพร้อมให้เด็กหยิบภาพ 2. ทบทวนคำคล้องจองแล้วถาม จากนั้นให้หยิบภาพมาติดก็ได้
         -  การเปรียบเทียบจำนวน ถามเด็กๆว่าในทุกๆดอกมีส่วนประกอบเหมือนกันหรือไม่ เราต้องพิสูจน์กัน ให้ครูหยิบดอกไม้ในตระกร้า แล้วชูดอกไม้ขึ้นพร้อมบอชื่อดอกไม้ แล้วถามเด็กๆว่าเหมือนกันหรือไม่ (ดอกไม้อาจจะมี 3 ดอกก็ได้)

ขั้นสรุป
        - ดอกไม้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบ 5 อย่าง ดังนี้ กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสร ก้าน ใบ

        จากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ
คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้
        การหาปริมาตร   เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
        เวลา   เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น  เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา
        การวัด  ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว  เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ (1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้
       1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง
       2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
       3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้
       4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
       5. ความจำ
       6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง  มี 2 แบบ
             6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน
             6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหา

คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไร

คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา  เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้

งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้  อาจารย์ให้ไปดูในบล็อกศิลปะสิ่งที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

บรรยากาศในห้องวันนี้  บรรยากาศดี ไม่ง่วงนอน ความรู้สึกในการเรียนของดิฉันในวันนี้รู้สึกว่ามีความเข้าใจในเรื่องที่อาจารย์สอน สามารถเชื่อมโยงคณิตศาสตร์เข้ากับวิชาอื่นได้เป็นอย่างดี  และอาจารย์สามารถให้คำแนะนำ การแก้ไขในการเขียนแผนได้อย่างชัดเจน ทำให้ดิฉันเข้าใจสิ่งที่อาจารย์ให้คำแนะนำ ซึ่งสามารถนำข้อความรู้ หรือเทคนิคต่างๆที่อาจารย์แนะนำไปใช้ในการสอน และเป็นประสบการณ์ในการเขียนแผนต่อไปได้ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น