วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15 11/03/2555

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน  สำหรับในวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตาราง  เวลา 09.00 - 12.00 น. ที่ห้องเดิมที่เรียนตามปกติ วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่จะมาสายเป็นส่วนมากจึงทำให้การสอนในช่วงแรกไม่ค่อยมีความพร้อม จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆในห้องแต่ละกลุ่มจับฉลากว่ากลุ่มไหนจะสอบสอนก่อนเป็นกลุ่มแรก และสอบหลังเป็นตามลำดับ จากนั้นเมื่อพร้อมอาจารย์จึงเริ่มสอบสอนแต่ละกลุ่ม โดยเรียงตามวันจันทร์-ศุกร์ จนครบหมดทุกกลุ่ม ดิฉันสอนหน่วย " ดอกไม้ "   ชั้นอนุบาล 2 อายุ 5 ขวบ  ได้วันพุธบอกส่วนประกอบของดอกไม้  ของดิฉันมีข้อคอมเม้นท์ในการสอบสอน  ดังนี้
ขั้นนำ
    - คำคล้องจองใช้ภาพแทนตัวอักษรดีแล้ว แต่ยังมีบางคำที่สามารถแทนภาพลงไปบนตัวอักษรได้ ก็ให้เพิ่มมา เช่น คำว่า "ผึ้งน้อย"  ให้แทนภาพผึ้ง

ขั้นสอน
    - การสอนให้แยกส่วนประกอบของชบา  ให้ชูให้เด็กเห็นแต่ละอย่าง และใช้คำถาม ถามเด็กให้เด็กตอบ จากนั้นให้วางส่วนประกอบทีละอย่าง  โดยให้เริ่มวางจากซ้ายไปขวา

ขั้นสรุป
     - ตารางส่วนประกอบ ใช้ภาพส่วนประกอบมานับจำนวนดีแล้ว ส่วนคำอธิบายรูปภาพว่าส่วนประกอบแต่ละอย่างอ่านว่าอะไร  ให้เปลี่ยนมาใช้ส่วนประกอบของดอกชบาของจริงมาแทนการใช้ตัวอักษรมาใส่ในตารางจะดีกว่า

และวิธีการสอนที่ถูกต้องของดิฉัน มัดังนี้
ขั้นนำ
    1.  เด็กๆค่ะจากคำคล้องจองบอกส่วนประกอบของดอกไม้อะไรบ้างค่ะ
    2.  จากส่วนประกอบคำคล้องจองแล้ว นอกจากนี้เด็กๆเคยเห็นส่วนประกอบอย่างอื่นอีกไหมค่ะ (ถามเพื่อดึงประสบการณ์)

ขั้นสอน   
    1.  เด็กๆค่ะ เด็กๆคิดว่าวันนี้ครูนำดอกไม้อะไรมาค่าให้เด็กดูค่ะ
           - เด็กๆตอบว่า "ดอกชบา"
           - ชมเชยเด็ก "เก่งมาค่ะ"
    2.  ครูมีส่วนประกอบของดอกชบาให้เด็กดูด้วยค่ะ
         หยิบชิ้นที่1  ชูให้เด็กดูแล้วถามว่า  " เด็กๆรู้จักไหมค่ะนี่คือส่วนประกอบที่เรียกว่าอะไร"
                             ตอบ  " ดอกชบา หรือเรียกว่า กลีบดอก " แล้ววางจากด้านซ้ายก่อน
         หยิบชิ้นที่2  แล้วอันนี้ละค่ะ สีเขียวๆเรียกว่าอะไร
                            ตอบ " เรียกว่า ใบ  วางจากด้านซ้ายถัดจากชิ้นแรก "
         หยิบชิ้นที่3  อันนี้ละค่ะรู้ไหมเอ๋ย มันคืออะไร
                            ตอบ  " มันคือเกสร "
         หยิบชิ้นที่4  สีเขียวๆเป็นหยักๆล่ะค่ะ เด็กรู้จักไหมค่ะ คืดอะไร
                            ตอบ  " อันนี้ คือ กลีบเลี้ยง "
         หยิบชิ้นที่5  อันสุดท้ายแล้วน่ะค่ะ เด็กๆรู้ไหมค่ะ คืออะไร
                            ตอบ " ก้านน่ะค่ะ "
    3.  เมื่อแยกส่วนประกอบ วางจากซ้ายไปขวา เสร็จแล้วน่ะค่ะ แล้วเราจะมาเปรียบเทียบส่วนประกอบของดอกชบากันน่ะค่ะ โดยที่ครูจะมีแผนภาพส่วนประกอบให้เด็กๆดู และเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของดอกชบาที่เป็นของจริงว่าเหมือนกันไหมน่ะค่ะ ถ้าเหมือนกับของจริง ให้เด็กๆนำภาพมาใส่ในตารางส่วนประกอบของดอกชบาที่ครูกำหนดให้น่ะค่ะ
    4.  เอ้าล่ะค่ะ คุณครูขอตัวแทนคนเก่ง 1 คน น่ะค่ะ ออกมาเปรียบเทียบส่วนประกอบให้เพื่อนๆดู

ขั้นสรุป   
    1.  เรามาทบทวนกันอีกครั้งหนึ่งน่ะค่ะ ว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง มี ใบ , ดอกชบา หรือ กลีบดอก, กลีบเลี้ยง , เกสร , ก้าน ค่ะ
    2.  เอ๊ะ! แล้วส่วนประกอบของดอกชบามีเท่าไรน้า เด็กๆอยากรู้ไหมค่ะ ลองมานับกันดูน่ะค่ะ 1 2 3 4 5 ทั้งหมดมี 5 อย่าง เด็กๆจำไว้น่ะค่ะส่วนใหญ่แล้วดอก้จะมีส่วนประกอบ 5 อย่าง ค่ะ

บรรยากาศในห้อง  วันนี้ครื้นเครงเป็นพิเศษเพราะมีการสอบสอนหลายรูปแบบทั้งที่สอนผิด และถูกปนกัน อากาศไม่หนาวมากนัก ความรู้สึกในการสอบสอนวันนี้ รู้สึกตื้นเต้นมากค่ะ พอเห็นเพื่อนออกไปสอบสอนยิ่งใกล้ถึงเราก็ยิ่งตื่นเต้นมากค่ะ  กลัวลืมเรื่องที่จะสอน และประทับใจอาจารย์ที่ให้คำแนะนำในการสอบสอนได้เป็นอย่างดี และถูกต้องตามหลักมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยค่ะ ชอบที่อาจารย์ให้แนะนำกลุ่มของ เจ๊ะซาลาวานิง มากค่ะ เพราะอาจารย์คอมเม้นท์ได้ดีสำหรับดิฉัน ดิฉันคิดว่าเรื่องที่จะสอนของเจ๊ะมันยากแต่พอเห็นอาจารย์คอมเม้นก็เข้าใจ อาจารย์สามารถโยงเข้าสู่คณิตศาสตร์ได้ดีมากค่ะ ในการสอบสอนครั้งนี้ก็เป็นประสบการณ์สำคัญยิ่งสำหรับดิฉัน เพราะตอนดิฉันออกไปฝึกวิชาชีพครู สามารถนำสิ่งที่เรียนมา และนำประสบการณ์จากการสอน รวมทั้งคำแนะนำของอาจารย์ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยต่อไปในอนาคตได้อย่างถูกต้อง  โดยยึดตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาตร์เด็กปฐมวัยที่เรียนมาค่ะ

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 06/03/2555

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคนสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์นัดสอบสอนนอกรอบวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555  เวลา 9.00 น.-12.00 น.  อาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนตรงตามมาตรฐานหรือไม่
2. การสอน
    - การบูรณาการ
    - สื่อ
    - เทคนิค
    - การประเมิน
และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการเขียนคำคล้องจองของเพื่อนบางคนให้เพื่อนๆคนอื่นดู พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำคล้องจองที่ถูกต้อง  จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กว่า เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กอยากรู้ และสนใจที่ครูสอน  ยกตัวอย่างเช่น  การร้องเพลงเพื่อเก็บเด็กเราอาจจะมีเพลงเดียว แต่มีการบูรณาการเนื้อเพลงให้มีความหลากหลายในการร้อง ใช้วิธีที่หลากหลายในการพูด  ทำให้ดึงดูดความสนใจเด็กและมาสนใจครูผู้สอน  และตื่นเต้น ไม่เบื่อหน่ายกับเพลงเดิมๆ  หากเราทำได้เช่นนี้ก็จะสามารถเก็บเด็กได้  และช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้นำแผนการสอนแบบ Project ของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดู "เรื่อง รถ"  ซึ่งอาจารย์ให้ความรู้ว่าคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว และเป็นมาตรฐานสากลแบบเดียวกันที่มีบวก ลบ คูณ หาร ที่เหมือนกัน  เวลาที่เราสอนเด็กต้องดึงประสบการณ์ เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพื่อเด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สำหรับวันนี้อาจารย์เลิกเรียนเร็วกว่าปกติ สาเหตุเนื่องมาจากเพื่อนในห้องเกิดอุบัติเหตุรถล้ม อาจารย์เป็นห่วงจึงเลิกเรียนเร็วค่ะ

** นัดนอกรอบสอบสอนในวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 -12.00 น. ค่ะ **

บรรยากาศในห้องวันนี้  อากาศในห้องค่อนข้างร้อนนิดนึงค่ะ  และวันนี้ดิฉันก็มาเรียนสายเป็นครั้งแรกค่ะ ความรู้สึกของดิฉันวันนี้ รู้สึกว่าประทับใจที่อาจารย์เป็นห่วงเพื่อนที่เกิดอุบัติเหตุค่ะ